ตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 – 2580) ยุทธศาสตร์ที่ ๕: พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Workforce) ขึ้นมารองรับ การทำงานในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเน้นทั้งกลุ่มคนทำงานที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างผลิตภาพการผลิต (Productivity) ในระบบเศรษฐกิจและกลุ่มคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลอย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนทั่วไป ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญอย่างทัดเทียมกัน ซึ่ง depa ได้มุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของมนุษย์ โดยให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาสมรรถนะของแต่ละวัยทำงานให้ตรงกับความต้องการอุตสาหกรรมทีเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล
![]() |
![]() |
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) การเร่งสร้างกำลังคนดิจิทัลทั้งกลุ่มนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ รวมถึงบุคลากรและแรงงานปัจจุบัน ให้มีความพร้อมในด้านทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมดิจิทัลได้อย่างทันท่วงที โดยดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน ทั้ง Large Tech Provider และ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ตลอดจนภาคการศึกษา เพื่อระดมกำลังเสริมสร้าง Human Capital ของประเทศให้มีทักษะดิจิทัลตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับของภาคอุตสาหกรรม หรือ ได้รับการรับรองตามมาตรฐานประกาศนียบัตรสากล ครอบคลุม ทักษะดิจิทัลที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและภาคอุตสาหกรรม เช่น
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากำลังคนดิจิทัล โดยจับมือ สถาบันการศึกษา พร้อมด้วยผู้นำเทคโนโลยีชั้นนำ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนดิจิทัล เพื่อให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม หรือ พัฒนาทักษสอดคล้องตามมาตรฐานวิชาชีพสากล ในหลากหลายสาขา อาทิ
โครงการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศด้วยมาตรฐานระดับสากล ในหลักสูตร CompTIA Cyber Security+ ซึ่ง depa ร่วมกับ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park) โดยการอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมาจากหลากหลายสาขา ทั้งตำแหน่งผู้บริหาร วิศวกร นักวิเคราะห์ เจ้าหน้าที่เครือข่ายและระบบ เจ้าหน้าด้านความปลอดภัย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ธนาคาร บริษัทเอกชน บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญ ที่มีศักยภาพด้านการป้องกันความปลอดภัยด้านไซเบอร์ อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของประเทศสู่การแข่งขันกับนานาประเทศต่อไป
โครงการทดสอบวัดระดับทักษะความรู้ในสาขาวิชาชีพด้าน ICT โดยใช้แบบทดสอบ Test of Practice Competency in ICT: TOPCIT เพื่อวิเคราะห์และประเมินทักษะความเชี่ยวชาญด้าน ICT
ดีป้า จับมือ บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ อิงค์ จำกัด พัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรด้าน Internet of Things (IoT) และ Cyber Security ในระดับอาชีวศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนและบุคลากรให้ครอบคลุมทุกระดับของการศึกษาไทย ให้มีความรู้ ทันโลก ทันเทคโนโลยี และทักษะทางด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะ IoT และ Cybersecurity เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนป้อนสู่อุตสาหกรรม