บริการ
TH
EN
TH
CN
สถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัล
Please Select

การประกาศเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ (Eastern Economic Corridor: EEC) เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 59 ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน และได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลประเทศไทย (Eastern Economic Corridor of Digital: EECd) หรือ Digital Park Thailand ให้เป็นส่วนหนึ่งของ EEC

เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลประเทศไทย หมายถึง พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่จะเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนด้านอุตสาหกรรมและ นวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาค มุ่งเน้นให้เกิดการลงทุนในธุรกิจดิจิทัลควบคู่กับการสร้างสรรค์ นวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ตลอดจนยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีเดิมไปสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลยุคใหม่ (New S-Curve Digital Industry) รวมถึงเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อให้เกิดการร่วมผลิตและแบ่งปันการใช้ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐาน (Resource Pooling & Infrastructure Sharing) ตลอดจนการเป็นสนามทดลองนวัตกรรมดิจิทัลที่สำคัญของประเทศ ที่ผ่อนปรนกฎระเบียบที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Living Lab & Testbed Sandbox) เช่น การทดสอบต้นแบบอุปกรณ์และระบบซอฟต์แวร์ในสภาพแวดล้อมจริงก่อนนำไปใช้งาน

 

การพัฒนาศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)

นโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และอุตสาหกรรมดิจิทัล มีเป้าหมายรวมเพื่อมุ่งสู่การเป็น “ศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)” โดยมีจุดเริ่มต้นจาก “เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand: EECd)” บนพื้นที่ 830 ไร่ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงแห่งใหม่ของอาเซียน เน้นการพัฒนาคลัสเตอร์ด้านการออกแบบ และนวัตกรรมดิจิทัล สร้างให้เป็นพื้นที่จับคู่ธุรกิจระหว่างธุรกิจชั้นนำระดับโลกกับ Digital startups ในการออกแบบ พัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม แบบก้าวกระโดด ก่อนจะขยายตลาดในเชิงพาณิชย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  โดยกลยุทธ์การดึงดูดเชิญชวนธุรกิจชั้นนำในอุตสาหกรรมดิจิทัลเข้ามาในพื้นที่ การให้สิทธิประโยชน์การลงทุน การสร้างตลาดหรืออุปสงค์ของพื้นที่ ผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนระบบนิเวศน์อย่างไม่หยุดนิ่ง รวมทั้งปรับปรุง แก้ไข กฎระเบียบ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล


การขยายผลจากสถาบันไอโอที (IoT Institute) สู่ไทยแลนด์ดิจิทัลวัลเลย์ “Thailand Digital Valley”

เพื่อให้การขับเคลื่อน ASEAN Digital Hub เป็นไปอย่างสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย depa จึงได้รับมอบหมายให้เร่งดำเนินการตามนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยการพัฒนา Thailand Digital Valley ซึ่งเป็นการขยายผลจากแนวคิดการจัดตั้งสถาบันไอโอที (IoT Institute) เดิม บนพื้นที่ 30 ไร่ ใน EECd  เพื่อดึงดูด สร้างแรงจูงใจ สร้างความเชื่อมั่น ให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ EECd โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผนึกกำลังความร่วมมือดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชน ภาคการศึกษา สถาบัน และภาครัฐ สร้าง Digital Ecosystem และ Open Platform สำหรับเหล่า Startups ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจน ส่งเสริม สนับสนุนการออกแบบสินค้าและบริการดิจิทัลของธุรกิจชั้นนำ และ Startups

ภายใน Thailand Digital Valley จะร่วมดำเนินการกับธุรกิจดิจิทัลชั้นนำระดับโลก เพื่อให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญเพื่อการพัฒนา วิเคราะห์ ทดลอง ทดสอบเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูง เช่น IoT, Data Science, 5G Applications,  Smart Devices, High Value-Added Software, Robotics, Cloud และ Digital Services เป็นต้น มีการพัฒนา Digital Ecosystem ที่เชื่อมบริษัทด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลชั้นนำของโลก กับ Digital Startups โดยเฉพาะกลุ่มด้าน FinTech, AgriTech, TourismTech, HealthTech, EduTech, GovTech  ในการออกแบบ พัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม แบบก้าวกระโดด มีอุปสงค์ของพื้นที่ที่ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูง เช่น พื้นที่ smart city ในจังหวัดต่างๆ สำหรับเป็นตลาดรองรับสินค้าและบริการดิจิทัลที่พัฒนาออกจาก Thailand Digital Valley ก่อนจะขยายตลาดในเชิงพาณิชย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ


วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อมุ่งสู่การเป็น “ศูนย์กลางด้านการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)”


พันธกิจ

  1. ส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัล
  2. ส่งเสริมพื้นที่การวิเคราะห์ ทดสอบ ทดลองผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านดิจิทัล
  3. ส่งเสริมการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
  4. ประสานความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และภาคการศึกษา
  5. สนับสนุนภาคเอกชนและประชาชนให้เข้าถึงบริการของภาครัฐ
  6. ร่วมสนับสนุนศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม และกลุ่มงานอื่นของสำนักงาน
Load More


Thailand Digital Valley ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand) ตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อที่โดยประมาณ 30 ไร่ ประกอบด้วยอาคารทั้งหมด 5 อาคาร ได้แก่


อาคาร depa Digital One Stop Service

พื้นที่ 1,500 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ให้บริการอำนวยความสะดวกกับนักลงทุน (One Stop Service : OSS) และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเชื่อมต่อข้อมูลมายังศูนย์สั่งการอัจฉริยะของเมือง โดยจะมีระบบรองรับการบริหารจัดการเมืองในลักษณะ Intelligent Operation Center ผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายเมืองอัจฉริยะ (smart city) รวมถึงเป็นศูนย์ประสานงานสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคตะวันออก


อาคาร Digital Startup Knowledge Exchange Centre (อาคารนวัตกรรม IoT 1)

พื้นที่ 4,500 ตารางเมตร เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้นวัตกรรมดิจิทัล ประกอบด้วยพื้นที่ทำงานร่วม (Co-Working Space) พื้นที่สำนักงาน (Office) และพื้นที่ธุรกิจ (Commercial Area)


อาคาร Digital Innovation Centre (อาคารนวัตกรรม IoT 2) 

พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร เป็นศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล ประกอบด้วยพื้นที่ทดสอบเทคโนโลยี 5G (5G Testing Lab) ห้องปฏิบัติการระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent Lab) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) พื้นที่ออกแบบนวัตกรรมไอโอทีและระบบอัจฉริยะ (IoT Design Center) พื้นที่ประดิษฐ์ต้นแบบนวัตกรรมไอโอที (Prototyping Fabrication Lab) และพื้นที่ออกแบบและทดสอบเครื่องกลและหุ่นยนต์ (Mechatronics and Robotics Lab)


อาคาร Digital Edutainment Complex (อาคารนวัตกรรม IoT 3)

พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้และท้าทายความสามารถ อาทิเช่น Robotic School, Robot Fighting Arena, Drone School และ Drone racing Arena


อาคาร Digital Go Global Centre (อาคารนวัตกรรม IoT 4)

พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร เป็นศูนย์ออกแบบและทดสอบเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลระดับนานาชาติ (International Digital and Innovation) และกำหนดให้เป็นพื้นที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ Startup ของไทย เพื่อให้มีการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศด้วยนวัตกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นในการสร้าง Product, พัฒนา Product


Load More

Thailand Digital Valley ยินดีต้อนรับนักลงทุน ร่วมทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในประเทศไทย ในพื้นที่ โดยกลุ่มเป้าหมายในการเชิญชวนจะพิจารณาจากหลายมิติในการช่วยผลักดันและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัล รวมทั้งการสร้างระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมดิจิทัล (digital ecosystem) ในพื้นที่อย่างครบวงจร อาทิ

กลุ่มเป้าหมายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Technology and Innovation Development Target) โดยจะมุ่งเน้นการเชิญชวนกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกของอุตสาหกรรมดิจิทัลที่คาดว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนตามเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในอนาคต เช่น Internet of Things (IoT), Artificial Intelligence, Data Analytics, Next Generation Telecom, Distributed ledger Technology, Quantum Computing, Automation เป็นต้น

กลุ่มเป้าหมายด้านการสร้างเครือข่ายการสนับสนุนธุรกิจดิจิทัลที่ได้รับการบ่มเพาะและพัฒนาในพื้นที่ (Digital Incubation and Acceleration Target) โดยจะมุ่งเน้นการเชิญชวนกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเสริมสร้างสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจดิจิทัลอย่างครบวงจร เช่น การให้คำปรึกษาด้านการเงินและกฎหมาย ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (Incubation/Acceleration Center) ศูนย์การเรียนรู้ด้านดิจิทัล (Digital Academy) เป็นต้น

กลุ่มเป้าหมายด้านการสร้างให้เกิดบรรยากาศสภาพแวดล้อมอยู่อาศัย (Community Creation Target) โดยจะมุ่งเน้นการเชิญชวนกลุ่มธุรกิจที่เน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้สำหรับสินค้าและบริการสำหรับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ เช่น กลุ่มธุรกิจที่สนับสนุนสินค้าและบริการด้าน smart retails, smart living, smart transport, smart energy เป็นต้น

กลุ่มเป้าหมายด้านองค์กรเครือข่ายระดับประเทศและนานาชาติ โดยจะเน้นการเชิญชวนกลุ่มองค์กร หน่วยงาน พันธมิตรทางธุรกิจ ในการประสานงานการสร้างเครือข่าย และเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลในประเทศไปยังระดับสากลในรูปแบบต่างๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ สมาคม สมาพันธ์ พันธมิตรทางธุรกิจ เป็นต้น


สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนใน Thailand Digital Valley @Digital Park Thailand 







 
 



Load More


IoT INNOVATION MAKER SPACE 


depa มุ่งพัฒนาพื้นที่ให้เป็น IoT innovation space โดยความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีกับภาคเอกชน 

บริการ: IoT Innovation Maker Space เป็นศูนย์ที่ช่วยให้สร้างไอเดีย ให้กับกลุ่มนักนวัตกรรม startup นักศึกษา รวมถึงเป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่ต้องสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่เริ่มให้คำปรึกษาของแนวความคิดและความเป็นไปได้ ทำการออกแบบ Prototype การทดสอบการใช้งาน และดูแลให้คำปรึกษาด้านเทคนิค ไปจนถึงกระบวนการผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งจะเป็นการสร้าง ผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้งานและจำหน่ายได้จริง รวมถึงเป็นพื้นที่ในการจัดฝึกอบรมด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศ 

ขอบเขตการให้บริการ: การให้บริการแบ่งออกเป็น 9 หน่วย (Business unit)

บริการให้คำปรึกษา
บริการผลิตงานต้นแบบ
(Prototype)
บริการทำการตลาด
บริการสถานที่
บริการผลิตอุตสาหกรรม
Mass Production)
บริการจัดหาอุปกรณ์/
วัสดุทั้งในและต่างประเทศ
บริการออกแบบ
บริการจดรับรองมาตรฐาน
บริการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า
ทั้งในและต่างประเทศ


DIGITAL PLAYGROUND

depa ร่วมมือกับ AIS ในการร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับนวัตกรรมดิจิทัล ประกอบด้วย การร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนาพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในด้านการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงร่วมสนับสนุนส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสถาบันไอโอทีฯ ในการเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระบบนิเวศน์ไอโอทีในประเทศไทย

บริการ:

  1. พื้นที่ Co-working สำหรับพบปะกันสำหรับบริษัทเทคโนโลยี ผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ
  2. บริการให้คำปรึกษา ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านออกแบบ เทคโนโลยี รวมถึงการดำเนินการทางธุรกิจด้านเทคโนโลยี
  3. การจัดกิจกรรม workshop ให้นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งผู้ประกอบการที่สนใจโดยจะมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด โดยจะจัดกิจกรรมทุกเดือนสลับเปลี่ยนตามเทรนของเทคโนโลยีในปัจจุบัน


AI & DATA SCIENCE

สถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัล ร่วมกับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ได้ร่วมกันจัดตั้งสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย (Thailand Artificial Intelligence Research Institute : VISTEC-depa AI Research Center) จำนวน 2 แห่ง โดยแห่งแรกตั้งอยู่ในพื้นที่อาคารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (อาคารลาดพร้าว ฮิลล์ ชั้น 2) และแห่งที่สองตั้งอยู่ ณ สถาบันวิทยสิริเมธี อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI)

บริการศูนย์กลางการให้บริการสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ครบวงจร ทั้งการให้บริการด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อการศึกษาเรียนรู้ ทดลองและทดสอบสำหรับการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ด้าน AI นอกจากนั้น ยังจัดให้เป็นสถานที่สำหรับการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้าน AI Data Science และ IoT จากคณะอาจารย์และผู้ฝึกอบรมที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน AI ชั้นนำในระดับประเทศ


CLOULD SERVICE

depa ได้ร่วมกับบริษัทนิภา เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาบริการ Public Cloud นวัตกรรม Cloud service ของคนไทย โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมโครงการต่างๆ จากผู้ประกอบการกลุ่ม IoT  Innovation และ Startup เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของระบบการทำงานด้วยต้นทุนที่ต่ำ รองรับการปริมาณการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ

บริการบริการและคำแนะนำปรึกษาในการนำระบบ Cloud Computing เพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ ของผู้ประกอบการด้วย Use Cases ที่แตกต่างกัน และการให้การสนับสนุนด้วยบริการ Nipa Cloud เพื่อการนำไปใช้ในขั้นตอนการ Development รวมถึงการจัดการอบรมด้านการใช้งานระบบ Cloud ระดับ Basic และ Advance

Load More

หลักเกณฑ์การขอรับตราสัญลักษณ์ dSURE สำหรับผลิตภัณฑ์ดิจิทัล



ประกาศสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับตราสัญลักษณ์ dSURE สำหรับผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ดาวน์โหลด

ภาคผนวก ดาวน์โหลด

แบบฟอร์มขอรับตราสัญลักษณ์ dSURE ดาวน์โหลด

ประกาศสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เรื่อง รายชื่อหน่วยตรวจสอบรับรองในเครือข่ายตราสัญลักษณ์ dSURE ดาวน์โหลด

ประกาศสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เรื่อง หลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ให้บริการ Cloud Service หรือ Data Center ในเครือข่ายตราสัญลักษณ์ dSURE

ดาวน์โหลด

ประกาศสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เรื่อง หลักเกณฑ์คุณสมบัติของหน่วยตรวจสอบรับรองด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ในเครือข่ายตราสัญลักษณ์ dSURE

ดาวน์โหลด

ประกาศสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลไทย (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๓)

ดาวน์โหลด

หมายเหตุ : หลักเกณฺ์การทดสอบ dSURE เป็นไปตามภาคผนวก ก, ข, ค

1) dSURE 1 ดาว (หัวข้อ Safety โรงงานที่ผลิตต้องได้รับมารฐาน ISO 9001)

2) dSURE 2 ดาว (หัวข้อ Safety + Functionality / Cyber Security)

3) dSURE 3 ดาว (หัวข้อ Safety + Functionality + Cyber Security)

Load More

Thailand 5G Alliance คือใคร

Thailand 5G Alliance คือ การรวมตัวกันของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในแวดวงการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G  โดยมีเป้าหมายร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาและการขยายผลการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี 5G เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน หรือยกระดับคุณภาพชีวิต และการขับเคลื่อนการขยายผลการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี 5G อย่างแพร่หลาย

 




วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง Thailand 5G Alliance

  1. สร้างศักยภาพและความพร้อมของประเทศในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในสาขาต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เกษตรกรรม สาธารณสุข การท่องเที่ยว และขยายผลสู่การใช้งานจริงในวงกว้างในระดับภูมิภาค
  2. ส่งเสริมการสร้างความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี 5G รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่บุคลากรในสายอาชีพรวมถึงกลุ่มผู้มีบทบาทสาคัญ
  3. สร้างความตระหนักและความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ 5G เช่น cybersecurity แก่ประชาชนทั่วไป
  4. เป็นเวทีประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค กฎระเบียบ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศสาหรับเทคโนโลยี 5G (5G Network and Ecosystem)


Load More